วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

2.นวัตกรรม คืออะไร


นวัตกรรม คือ
 สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม   

ใน ยุคเศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้และกระแสการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งเน้นการสร้าง ความแข็งแกร่งโดยมีรากฐานบนองค์ความรู้ นวัตกรรม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบัตร ปัจจุบันองค์กรและบริษัทส่วนใหญ่พยายามที่จะมุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญา นวัตกรรม และรวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าทุนในรูปแบบเดิม เช่น ที่ดิน โรงงาน หรือเครื่องจักร โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างมูลค่าหรือรายได้และเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญามิใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องถึงการวางแผน การบริหารจัดการ การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเป็นประโยชน์ต่อ องค์กร 

ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนภายในประเทศได้ให้ความสำคัญกับนวัต กรรมมากขึ้น โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันส่วนหนึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม หากธุรกิจใดมีการทำนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผลที่ธุรกิจจะได้รับอย่างเห็นได้ชัดคือความสามารถในการลดต้นทุนและความ สามารถในการเพิ่มยอดขายหรือขยายกิจการ เนื่องจาก นวัตกรรมมีความสำคัญต่อองค์กรและประเทศมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานผู้สนับสนุนนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ได้แก่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมนวัตกรรมและ ทรัพย์สินทางปัญญา (IPA) เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเครือข่ายด้านนวัตกรรม ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากลาโหม ศูนย์วิจัยชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น