วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

2. ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)


2. ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences)

     (http://dontong52.blogspot.com/) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ผู้ บุกเบิกทฤษฎีนี้ คือ การ์ดเนอร์ จากมหาวิทยาลัยอาร์วาร์ด ได้ให้คำนิยามเชาว์ปัญญา” (Intelligence)ไว้ว่า หมายถึง ความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
การ์ดเนอร์มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1. เชาว์ปัญญาของบุคคลมี 8 ประการด้วยกัน ได้แก่
1.1 เชาว์ปัญญาด้านภาษา
1.2 เชาว์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์ หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ
1.3 สติปัญญาด้านมิตรสัมพันธ์
1.4 เชาว์ปัญญาด้านดนตรี
1.5 เชาว์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ
1.6 เชาว์ปัญญาด้านการสัมพันธ์กับผู้อื่น
1.7 เชาว์ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง
1.8 เชาว์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ
2. เชาว์ปัญญาของแต่ละคนจะไม่อยู่คงที่ แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
    
     (http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2) ได้กล่าวว่าในบทนำของหนังสือ (Multiple Intelligences Lesson plan book ) ว่านักการศึกษาส่วนมากตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกัน สมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียว ซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญา สามารถได้รับการฝึกฝนและพัฒนาสืบต่อไป
    
     (http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567) ได้รวบรวมแล้วกล่าวไว้ว่า ทฤษฎีพหุปัญญาของศาสตราจารย์ โฮเวริ์ด  การ์ดเนอร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด  กล่าวถึง
     ความฉลาดของมนุษย์ไม่ว่าจะในเด็กหรือผู้ใหญ่  จะมีอยู่ด้วยกัน 9 ประการคือ
1. ความฉลาดในการใช้ภาษา
2. ความฉลาดในด้านตรรกะและคณิตศาสตร์
3. ความฉลาดในด้านจินตนาการ
4. ความฉลาดในด้านควบคุมร่างกาย
5. ความฉลาดในด้านดนตรี
6. ความฉลาดในด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์
7. ความฉลาดในด้านการเข้าใจตนเอง
8. ความฉลาดในการเข้าใจธรรมชาติ
ทฤษฎีของโฮวาร์ด การ์ดเนอร์  ได้รับมีการเพิ่มเติมขึ้นเป็น 9 ประการคือ
9. ความฉลาดในการใช้ชีวิต

อ้างอิง
     URL:(http://dontong52.blogspot.com/). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL: (http://www.vcharkarn.com/vblog/16268/2). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
     URL: (http://www.gotoknow.org/blog/prachyanun/66567). เข้าถึง 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น