ปัจจุบัน ทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลงทุนทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา จนเกิดความแตกต่างระหว่างประเทศที่มีความพร้อมทาง ICT กับประเทศที่ขาดแคลนที่เรียกว่า Digital Divide ในขณะเดียวกันประเทศทั่วโลกต่างมุ่งสร้างสังคมใหม่ให้เป็นสังคมที่ใช้ความ รู้เป็นฐาน (Knowledge Based Society) จนเกิดความแตกต่างระหว่างสังคมที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ กับสังคมที่ด้อยความรู้ ที่เรียกว่า Knowledge Divide ในยุคของการปฏิรูปการศึกษา ต่างก็เร่งพัฒนาการศึกษาให้การศึกษาไปพัฒนาคุณภาพของคน เพื่อให้คนไปช่วยพัฒนาประเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) จึงเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพสูงในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการ ศึกษา เช่น ช่วยนำการศึกษาให้เข้าถึงประชาชน (Access) ส่งเสริม การเรียนรู้ต่อเนื่องนอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ช่วยจัดทำข้อมูลสารสนเทศเพื่อการบริหารและจัดการ ช่วยเพิ่มความรวดเร็วและแม่นยำในการจัดทำข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล การเก็บรักษา และการเรียกใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ในงานจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยการเรียนการสอน แต่การให้ความสนใจกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเรียนรู้ของผู้เรียนก็อาจหลงทาง ได้ ถ้าผู้บริหารสถานศึกษายึดถือการมีเทคโนโลยีเป็นจุดหมายปลายทาง ของการศึกษา แทนที่จะยึดถือผลการเรียนรู้เป็นจุดหมาย ปรากฏการณ์ของการหลงทางจะพบเห็นในการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมทางระบบ คอมพิวเตอร์ การมีเครือข่ายโยงเข้า Internet สะดวก ผู้เรียนเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีและมีโอกาสใช้ได้เต็มที่ แต่ในบางสถานศึกษาผู้เรียนอาจใช้เทคโนโลยีไม่คุ้มค่า ขาดเป้าหมายในการเรียนรู้สาระสำคัญตามหลักสูตรวิชาต่าง ๆ และขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยีเพื่อพัฒนากระบวนการทางปัญญาอย่างแท้จริง
วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
8.จงอธิบายแนวคิดของนักศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยมีหัวข้อคือ ชื่อนวัตกรรม เหมาะสำหรับนักเรียนชั้น แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
8.จงอธิบายแนวคิดของนักศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดนวัตกรรม โดยมีหัวข้อคือ ชื่อนวัตกรรม เหมาะสำหรับนักเรียนชั้น แนวคิดที่จะนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนรู้
7. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
7. รูปแบบของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอนประกอบด้วยอะไรบ้าง
(images.minint.multiply.multiplycontent.com/.../...) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า สื่อหลายมิติ คือ การเสนอข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสามารถรับสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ ที่สื่อเสนอได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากรูปแบบหนึ่งไปยังอีกรูปแบบหนึ่งได้ ในทันทีด้วยความรวดเร็ว ซึ่ง “สื่อหลายมิติ” (Hypermedia) นี้ได้พัฒนามาจาก “ข้อความหลายมิติ” (Hypertext) ซึ่งเป็นการเสนอเพียงข้อความตัวอักษร ภาพกราฟิกและเสียงที่มีมาแต่เดิม
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
2.1 ดูแผนภาพหรือภาพวาด
2.2 ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
2.3 ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4. ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่า จะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
(http://pongpipath.multiply.com/journal/item/21) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำลทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภท ดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน
ประโยชน์ของสื่อหลายมิติในการเรียนการสอน
ในการเรียนบทเรียนที่เขียนในลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจาก บทเรียนได้มากมายหลายประเภทในลักษณะต่าง ๆ กันดังนี้
1. เรียกดูความหมายของคำศัพท์ ที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจได้ทันที
2. ขยายความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนด้วยการ
2.1 ดูแผนภาพหรือภาพวาด
2.2 ดูภาพถ่าย ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกจากเครื่องเล่นแผ่นวีดิทัศน์
2.3 ฟังเสียงคำอธิบายที่เป็นเสียงพูด หรือฟังเสียงดนตรี เสียง special effect
3. ใช้สมุดบันทึกที่มีอยู่ในโปรแกรมเพื่อบันทึกใจความสำคัญของบทเรียน
4. ใช้เครื่องมือสำหรับการวาดภาพในโปรแกรมนั้นเพื่อวาด แผนที่มโนทัศน์ (concept map) ของตนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนได้ง่ายยิ่งขึ้น
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ที่สนใจขึ้นมาอ่านหรือดูเพิ่มเติมได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบ (system map) เพื่อดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ตรงส่วนใดของบทเรียนและเพื่อช่วยในการดูว่า จะเรียนในส่วนใดของบทเรียนต่อไป
(http://pongpipath.multiply.com/journal/item/21) ได้รวบรวมแล้วกล่าวว่า การนำสื่อหลายมิติมาใช้ในการเรียนการสอน มีการนำสื่อหลายมิติเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนในรูปของบทเรียนหลายมิติขึ้น โดยการ ผลิตเนื้อหาหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่จะใช้สอนในลักษณะสื่อหลายมิติ โดยการใช้ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ บรรจุลงไปในบทเรียนหลายมิติ ผู้เรียนสามารถมี ปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนโดย การเลือกเรียนเนื้อหาตามลำดับที่ตนต้องการที่โรงเรียนฟอเรศต์ฮิลล์ เมืองแกรนด์ แรพิดส์ สหรัฐ อเมริกา ได้จัดทำลทเรียนสื่อหลายมิติ โดยครูและนักเรียนร่วมกันสร้างบทเรียนเกี่ยวกับการถูก ทำลายของป่าฝนในเขตร้อน โดยการค้นคว้าเนื้อหาจากห้องสมุด แล้ว รวบรวมภาพถ่ายภาพเคลื่อน ไหลต่าง ๆ มาเป็นข้อมูลแล้วทำการสร้างเป็นบทเรียนโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วย
ประโยชน์และลักษณะของบทเรียนหลายมิติ
การเรียนบทเรียนที่มีลักษณะสื่อหลายมิติผู้เรียนสามารถเรียนรู้ข้อมูลจากบทเรียนได้หลายประเภท ดังนี้
1.เรียกดูความหมายของคำศัพท์
2. ขยายความเข้าใจเนื้อหาโดย ดูแผนภาพ หรือภาพวาด ภาพถ่าย หรือฟังคำอธิบายหรือฟังเสียง ดนตรี เป็นต้น
3. ใช้สมุดบันทึกที่มี อยู่ในโปรแกรมบันทึกใจความสำคัญ
4. ใช้เครื่องมือวาดภาพในโปรแกรมวาดแผนที่มโนทัศน์ของตน
5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูล ต่าง ๆ ที่สนใจมาอ่านได้โดยสะดวก
6. ใช้แผนที่ระบบดูว่าขณะนี้กำลังเรียนอยู่ส่วนใดของบทเรียน
เอกสารอ้างอิง
URL:images.minint.multiply.multiplycontent.com/.../....เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL:http://pongpipath.multiply.com/journal/item/21.เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
URL:http://pongpipath.multiply.com/journal/item/21.เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2554
6. สื่อการสอน คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมอธิบายแต่ละประเภทว่ามีลักษณะอย่างไร
6. สื่อการสอน คืออะไร แบ่งเป็นกี่ประเภทอะไรบ้าง พร้อมอธิบายแต่ละประเภทว่ามีลักษณะอย่างไร
(http://www.edtec.du.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php) สื่อ การสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้ง ไว้
(http://www.edtec.du.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php) สื่อ การสอน หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ ซึ่งถูกนำมาใช้ในการการเรียนการสอน เพื่อเป็นตัวกลางในการนำส่งหรือถ่ายทอดความรู้ ทักษะ และเจตคติ จากผู้สอนหรือแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอนที่ตั้ง ไว้
เกอร์ลัช และอีลี ( ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526:141: อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของ สื่อการสอน ไว้ ว่าสื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
(http://www.learners.in.th/blog/puukan/84882) สื่อการสอน คืออะไรสื่อการสอนนับว่าเป็นสิ่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเรียนการสอนนับแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เนื่อง จากเป็นตัวกลางที่ช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนดำเนินไปได้ อย่างมีประสิทธิภาพทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจความหมายของเนื้อหาบทเรียนได้ ตรงกับที่ผู้สอนต้องการ ไม่ว่าสื่อนั้นจะเป็นสื่อในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นทรัพยากรที่สามารถอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น ในการใช้สื่อการสอนนั้นผู้สอนจำเป็นต้องศึกษาถึงลักษณะเฉพาะ และคุณสมบัติของสื่อแต่ละชนิดเพื่อเลือกสื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์การสอนและสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยต้องมีการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อด้วย ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเรียนกาสอนดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เอกสารอ้างอิง
(http://www.learners.in.th/blog/puukan/84882) เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554
(http://www.edtec.du.ku.ac.th/edtech/wbi/index.php) เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554
เกอร์ลัช และอีลี ( ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526:141: อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.)เข้าถึงเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554
4.เทคโนโลยี หมายถึงอะไร
เทคโนโลยี มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น กระบวนการต่าง ๆ
ความหมาย
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
http://www.thaigoodview.com/node/9214 เข้าถึงวันที่ 29 กรกฏาคม 2554
ความหมาย
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ให้เกิดประโยชน์
คำว่า เทคโนโลยี ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่า เป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
คำว่า “เทคโนโลยี” มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำ และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับ เทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง ิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why) เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก
เอกสารอ้างอิงhttp://www.thaigoodview.com/node/9214 เข้าถึงวันที่ 29 กรกฏาคม 2554
5. ความหมาย ลักษณะสำคัญ และบทบาทในการศึกษาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ความหมาย ลักษณะสำคัญ และบทบาทในการศึกษาของเทคโนโลยีสารสนเทศ
สหชาติ สรรพคุณ (2550:2) กล่าวไว้ว่า “เทคโนโลยี สารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้งานที่เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อช่วยในการสื่อสารส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้ สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ช่วยในการจัดการระบบข้อมูลหรือข่าวสาร ในแต่ละวันที่มีจำนวนมหาศาลได้
2. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในขบวนการผลิตสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณที่ยุ่งยากและซับซ้อน หรือการจัดเรียงระบบสารสนเทศ
3. ช่วยให้สามารถจัดเก็บสารสนเทศไว้ในสื่อและวิธีการ ที่สามารถเรียกใช้ได้สะดวก
4. ช่วยให้สามารถจัดระบบอย่างอัตโนมัติ เพื่อการจัดเก็บประมวลผล และสืบค้นหรือเรียกใช้สารสนเทศได้เป็นอย่างดี
5. ช่วยให้เข้าถึงการตอบสนองการใช้สารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
6. ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้ในทุกระดับได้อย่างรวดเร็ว
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการศึกษา
1. การ ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการใช้คอมพิวเตอร์สร้างบทเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนนอกเวลาเรียน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุจุดประสงค์ของการศึกษามากยิ่งขึ้น
2. การศึกษาทางไกล เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยในการจัดรูปแบบการศึกษาทางไกล โดยผู้เรียนกับผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้ทันที
3. เครือข่ายการศึกษา เป็นการแบ่งเครือข่ายการศึกษาเพื่อให้ครูและนักเรียนสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างไกล
4. การใช้งานห้องสมุด โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสืบค้นหารายการหนังสือ และบริการยืม-คืนหนังสือได้
5. การใช้ห้องปฏิบัติการและการใช้ในงานบริการ”
เอกสารอ้างอิง
สหชาติ สรรพคุณ.(๒๕๕๐).เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต.สำนักงานพระพุทธศาสนา
แห่งชาติ; กรุงเทพฯ
3.นวัตกรรมทางการศึกษา คือ
“นวัตกรรมการศึกษา "
นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์
ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูน
ประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
ลักษณะเด่นที่จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจใช้เป็นของเก่าที่ใช้ในอดีตแล้วนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น
2. มีการ ศึกษา ทดลอง โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี มาใช้อย่างเป็นระบบ
3. มีการพิสูจน์ด้วยการทดลองหรือวิจัย
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากว่า สิ่งใหม่ นั้นได้มีการเผยแพร่จนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับ
กันโดยทั่วไป แล้วจะกลายเป็นเทคโนโลยี
"แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ "
1. ความหมายของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ หมายถึง ศูนย์รวมของวิชาความรู้ที่
เป็นทรัพยากรธรรมชาติ บุคคล สิ่งประดิษฐ์ วัตถุ อาคาร สถานที่ ซึ่งมีอยู่กระจัดกระจาย ทั้งชุมชนเมืองและ
ชุมชนชนบท อันเป็นขุมทรัพย์แห่งปัญญาที่แทรกซึมอยู่ในวิถีชีวิตของมนุษย์ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ค้นพบ
ได้อย่างไม่รู้จบ
2. คุณลักษณะของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่แท้จริงต้องสามารถสัมผัสกับ
บรรยากาศและสถานการณ์จริงโดยเอื้อประโยชน์ต่อกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้นั้นเกิดได้กับผู้เรียน
ทุกคน ทุกเวลา มีความหมาย มีความหลากหลาย สามารถเน้นทักษะและนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ ผู้เรียนมี
อิสระในการตัดสินใจ คิดริเริ่มและ ปฏิบัติได้อย่างมีความสุข
3. ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ ประเภทของแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ จำแนกได้หลายประเภท
ตามทัศนะของนักการศึกษาแต่ที่เด่นชัด จำแนกเป็น 4 ประเภทใหญ่ คือ
3.1 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทบุคคล หมายถึง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม มีผลงานได้รับการยก
ย่อง เป็นที่ยอมรับของสังคมซึ่งถือเป็นตัวอย่างต้นแบบกับบุคคลรุ่นหลังสืบไปในหลายสาขาอาชีพ
ตัวอย่างเช่น แม่กิมลั้ง แม่กิมเนีย ที่มีความถนัดทางด้านปรุงแต่งขนมหม้อแกงเมืองเพชร โกฮับเจ้าเก่า ผู้
บุกเบิกก๋วยเตี๋ยวเรือคลองรังสิตจนเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ ด้านการเรียนการสอน มีครูต้นแบบสร้างสรรค์
ผลงานนวัตกรรมทางการสอนขึ้นหลายรูปแบบ เช่น สอนให้สนุกเป็นสุขเมื่อได้สอน การสอนที่เน้น
กระบวนการ การสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร เพื่อนสอนเพื่อน การสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา การสอนดนตรีไทย
และดนตรีพื้นเมือง
3.2 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภททรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีอยู่แล้วในโลกและ
อวกาศ ซึ่งไม่ได้หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์ เช่น ภูเขา ป่าไม้ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง แม่น้ำ และสัตว์
ป่านานาชนิด เป็นต้นเนื่องด้วยปัจจุบันมีการนำธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้ประโยชน์อย่างมากจนเหลือ
จำนวนน้อยลง มนุษย์เริ่มตระหนักถึงภัยที่จะเกิดขึ้นเพราะขาดธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ดี จึงได้มีการ
รณรงค์สร้างสิ่งทดแทนธรรมชาติ ได้แก่ ปลูกป่า จัดระบบนิเวศวิทยา อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการ
สอนพฤกษ-ศาสตร์ อนุรักษ์และขยายพันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชนานาชนิด
3.3 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทสื่อ หมายถึง สิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่ใช้เป็นช่องทางการสื่อสาร แยก
ได้ 2 ประเภท คือ
(1) สื่อทางด้านกายภาพ ได้แก่ วัสดุ ลักษณะสิ่งพิมพ์ ฟิล์ม แผ่นภาพโปร่งใส เทปบันทึกภาพ เทปบันทึกเสียง
แผ่น CD ชนิดเสียงและภาพ เป็นต้น อุปกรณ์ เป็นตัวช่องทางผ่านในลักษณะเครื่องฉาย เครื่องเสียงชนิด
ต่างๆ เป็นต้น
(2) สื่อทางด้านวิธีการ ได้แก่ รูปแบบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ทั้งการใช้เทคโนโลยีพื้นบ้าน และ
เทคโนโลยีระดับสูง ได้แก่
(2.1) สื่อท้องถิ่น ประเภทเพลง เช่น หมอลำ หนังตะลุง ลำตัด อีแซว ลำนำเพลงซอ เพลงพวงมาลัย เพลงฉ่อย
และนิทานพื้นบ้าน เป็นต้น
(2.2) สื่อกิจกรรม เช่น หมากเก็บ หมากขะเหย่ง ตี่จับ มอญซ่อนผ้า เดินกะลา เป็นต้น เป็นที่น่าสังเกตว่า สื่อ
กิจกรรมพื้นบ้านดังกล่าวมีมาแต่โบราณ หลายกิจกรรมเหมือนกับของชนเผ่าปิกมี่ในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็น
กิจกรรมที่มีความสนุกตื่นเต้นในกลุ่มเด็กๆ ปัจจุบันก็ยังได้รับความนิยมอยู่ แต่ก็มีกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนา
มาเป็นลำดับ จนถึงการใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น โปรแกรมเกมคอมพิวเตอร์ บทเรียนโปรแกรม โปรแกรม
ผ่านสื่ออินเตอร์เนต ระบบมัลติมิเดีย ประเภท E-Learning เป็นต้น ซึ่งการประชุมสัมมนา การปฏิบัติงาน
กลุ่ม การทัศนศึกษา ก็เข้าข่ายสื่อกิจกรรมชนิดหนึ่ง
3.4 แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ประเภทวัตถุและอาคารสถานที่ หมายถึง วัตถุและอาคารสถานที่ ที่มีศักยภาพ
เป็นแหล่งความรู้ด้วยตัวของมันเอง สามารถสื่อความหมายโดยลำพังตัวเอง เช่น สถาปัตยกรรมด้านการ
ก่อสร้าง จิตรกรรมภาพฝาผนัง ปูชนียวัตถุด้านประวัติศาสตร์ ชิ้นส่วนของธรรมชาติที่ให้ความรู้ทางด้าน
วิทยาศาสตร์ โบราณวัตถุทางด้านศาสนา พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
"เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา"
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา
อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน
การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การ
พัฒนาบุคลากร
เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นที่นิยมประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน อาทิ
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
"คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา"
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 3
ส่วนคือ
1 ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ส่วนกายภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ - หน่วยรับ
ข้อมูล เช่น หน่วยบันทึก แผงแป้นอักขระ - หน่วยความจำ เช่น ชิป (Chip) หรือหน่วยความจำสำรอง เช่น
จานบันทึก - หน่วยแสดงผล เช่น เครื่องพิมพ์และจอภาพ
2.นวัตกรรม คืออะไร
นวัตกรรม คือ
สิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อ เศรษฐกิจและสังคม นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญามีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับการวิจัยและพัฒนา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก เป็นกลไกที่รัฐออกกฎหมายขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานวิจัยและพัฒนา อันเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความอุตสาหะและความเสียสละทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อทำการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม
ใน ยุคเศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้และกระแสการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งเน้นการสร้าง ความแข็งแกร่งโดยมีรากฐานบนองค์ความรู้ นวัตกรรม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบัตร ปัจจุบันองค์กรและบริษัทส่วนใหญ่พยายามที่จะมุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญา นวัตกรรม และรวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าทุนในรูปแบบเดิม เช่น ที่ดิน โรงงาน หรือเครื่องจักร โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างมูลค่าหรือรายได้และเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญามิใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องถึงการวางแผน การบริหารจัดการ การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเป็นประโยชน์ต่อ องค์กร
ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนภายในประเทศได้ให้ความสำคัญกับนวัต กรรมมากขึ้น โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันส่วนหนึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม หากธุรกิจใดมีการทำนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผลที่ธุรกิจจะได้รับอย่างเห็นได้ชัดคือความสามารถในการลดต้นทุนและความ สามารถในการเพิ่มยอดขายหรือขยายกิจการ เนื่องจาก นวัตกรรมมีความสำคัญต่อองค์กรและประเทศมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานผู้สนับสนุนนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ได้แก่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมนวัตกรรมและ ทรัพย์สินทางปัญญา (IPA) เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเครือข่ายด้านนวัตกรรม ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากลาโหม ศูนย์วิจัยชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
ใน ยุคเศรษฐกิจแห่งองค์ความรู้และกระแสการแข่งขันทางการค้าที่มุ่งเน้นการสร้าง ความแข็งแกร่งโดยมีรากฐานบนองค์ความรู้ นวัตกรรม รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิบัตร ปัจจุบันองค์กรและบริษัทส่วนใหญ่พยายามที่จะมุ่งเน้นการสร้างทุนทางปัญญา นวัตกรรม และรวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญามากกว่าทุนในรูปแบบเดิม เช่น ที่ดิน โรงงาน หรือเครื่องจักร โดยที่ทรัพย์สินทางปัญญาสามารถสร้างมูลค่าหรือรายได้และเสริมสร้างความ สามารถในการแข่งขันขององค์กรในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ ดังนั้น ทรัพย์สินทางปัญญามิใช่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่เกี่ยวข้องถึงการวางแผน การบริหารจัดการ การทำวิจัยและพัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินทางปัญญาอันจะเป็นประโยชน์ต่อ องค์กร
ปัจจุบันภาครัฐและเอกชนภายในประเทศได้ให้ความสำคัญกับนวัต กรรมมากขึ้น โดยมีแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถในการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกิจ และการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันส่วนหนึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม หากธุรกิจใดมีการทำนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ผลที่ธุรกิจจะได้รับอย่างเห็นได้ชัดคือความสามารถในการลดต้นทุนและความ สามารถในการเพิ่มยอดขายหรือขยายกิจการ เนื่องจาก นวัตกรรมมีความสำคัญต่อองค์กรและประเทศมากขึ้น ดังนั้น ปัจจุบันจึงมีหน่วยงานผู้สนับสนุนนวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญาจำนวนมาก ได้แก่ กรมทรัพย์สินทางปัญญา สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ซึ่งได้สนับสนุนให้ผู้ประกอบการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาคมนวัตกรรมและ ทรัพย์สินทางปัญญา (IPA) เพื่อร่วมกันสร้างความตระหนักในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนั้น ยังมีหน่วยงานเครือข่ายด้านนวัตกรรม ได้แก่ กรมวิทยาศาสตร์บริการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย สำนักงานวิจัยและพัฒนากลาโหม ศูนย์วิจัยชีววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
http://www.jeedbuddy.com/forumindex.php?topic=1033.0 เข้าถึงวันที่ 29 กรกฏาคม 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)